Privilege

สิทธิประโยชน์

อาสาสมัครพิทักษ์ทะเล

ระเบียบกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
ว่าด้วยอาสาสมัครพิทักษ์ทะเล พ.ศ. 2560

1. ชื่อภาษาไทย "อาสาสมัครพิทักษ์ทะเล" ชื่อภาษาอังกฤษ "Marine Rangers"
     "อาสาสมัครพิทักษ์ทะเล" หมายความว่า บุคคลที่มีความเสียสละ และอุทิศตนในการทํางานด้านการอนุรักษ์ สงวน คุ้มครอง และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างยั่งยืนร่วมกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ใช้ชื่อย่อว่า "อสทล."

2. วัตถุประสงค์ของอาสาสมัครพิทักษ์ทะเล MARINE RANGER
     (1) เพื่อเสริมสร้างศักยภาพ ความเข้มแข็ง กระบวนการเรียนรู้และพึ่งตนเองของชุมชนในการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่งอย่างยั่งยืนในท้องถิ่นของตนเอง
     
(2) เพื่อประสานการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งระหว่างระดับนโยบาย และระดับชุมชน
     (3) เพื่อสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในท้องถิ่นของตนเอง

3. หน้าที่ของอาสาสมัครพิทักษ์ทะเล มีดังนี้
     (1) ให้ความร่วมมือและช่วยเหลือการปฏิบัติงานราชการกับพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายตามที่ได้ร้องขอ ทั้งนี้ในการปฏิบัติงานแต่ละครั้งอาสาสมัครต้องอยู่ในความควบคุม กำกับ ดูแลของ
พนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ หรือมีอำนาจในการจับกุมผู้กระทำความผิดตามกฎหมายอย่างใกล้ชิด
     (2) ช่วยเหลือและสนับสนุนการดำเนินงานตามแผนงาน โครงการหรือกิจกรรม เกี่ยวกับการอนุรักษ์ สงวน คุ้มครอง และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในท้องถิ่น
     (3) สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมและสร้างความตระหนักให้ภาคประชาชนรู้สภาพปัญหาด้านทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ของท้องถิ่นและสามารถกำหนดแผนงานเพื่อแก้ไขปัญหาเองได้ รวมถึงการกระตุ้นให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในพื้นที่ หรือชุมชนของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
     (4) ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งของชุมชน
​     (5) ทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์ รับและแจ้งให้ประชาชนได้ทราบถึงนโยบาย ข่าวสาร กิจกรรม ตลอดจนผลงานที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
​     (6) สดับรับฟังข่าว หรือหาข่าวการดำเนินกิจกรรมที่ผิดกฎหมายที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง หรือเป็นภัยร้ายแรงต่อส่วนรวม หรือประเทศชาติ
​     (7) ติดตาม ตรวจสอบ เฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงคุณภาพทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งของชุมชน

4. สิทธิสำหรับผู้เป็นอาสาสมัครพิทักษ์ทะเล
​     (1) แต่งเครื่องแต่งกาย และประดับเครื่องหมายอาสาสมัครพิทักษ์ทะเล (เครื่องหมายเชิดชูเกียรติมี 2 ระดับ ประกอบด้วย “รักษ์ทะเล ชั้น 2 (เข็มเงิน)” และเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ “รักษ์ทะเล ชั้น 1 (เข็มทอง)” ตามหลักเกณฑ์ที่กรมฯ กำหนด)
​     (2) ได้รับบัตรประจำตัวอาสาสมัครพิทักษ์ทะเล
​     (3) เข้าร่วมประชุม สัมมนา โครงการ หรือกิจกรรม ตามที่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งกำหนด
​     (4) มีสิทธิในการคัดเลือกตัวแทนกลุ่มอาสาสมัครพิทักษ์ทะเล
​     (5) มีสิทธิได้รับการคัดเลือกให้เป็นตัวแทนกลุ่มอาสาสมัครพิทักษ์ทะเล เพื่อทำหน้าที่แทนกลุ่มอาสาสมัครพิทักษ์ทะเล
​     (6) อาสาสมัครพิทักษ์ทะเลที่ปฏิบัติงานได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด มีสิทธิได้รับใบประกาศเกียรติคุณ เข็ม และอื่นๆ เพื่อยกย่องในฐานะเป็นตัวอย่างที่ดีของสังคมด้านอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง
​     (7) นำเสนอข้อมูล และเสนอแนะข้อคิดเห็นต่อการปรับปรุงการดำเนินงาน หรือพิจารณาสถานภาพของคณะกรรมการเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทะเล
​     (8) ได้รับการสนับสนุนในการเข้าชมสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ จังหวัดภูเก็ต อุทยานแห่งชาติ และสถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ ในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
​     (9) สิทธิอื่นตามที่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งกำหนด

5. สัญลักษณ์อาสาสมัครพิทักษ์ทะเล
     (1) ผู้มีสิทธิได้รับอนุญาตให้ใช้สัญลักษณ์อาสาสมัครพิทักษ์ทะเล ต้องเป็นอาสาสมัครพิทักษ์ทะเล คุณสมบัติให้เป็นไปตามที่กําหนดไว้ในข้อ 4
     (2) การใช้สัญลักษณ์อาสาสมัครพิทักษ์ทะเลจะอนุญาตให้เฉพาะผู้ได้รับอนุญาตเท่านั้น ผู้ได้รับอนุญาตไม่สามารถโอนสิทธิให้บุคคลอื่นได


สัญลักษณ์อาสาสมัครพิทักษ์ทะเล





ALBUM

ระเบียบกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
ว่าด้วยอาสาสมัครพิทักษ์ทะเล พ.ศ. 2560

1. ชื่อภาษาไทย "อาสาสมัครพิทักษ์ทะเล" ชื่อภาษาอังกฤษ "Marine Rangers"
     "อาสาสมัครพิทักษ์ทะเล" หมายความว่า บุคคลที่มีความเสียสละ และอุทิศตนในการทํางานด้านการอนุรักษ์ สงวน คุ้มครอง และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างยั่งยืนร่วมกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ใช้ชื่อย่อว่า "อสทล."

2. วัตถุประสงค์ของอาสาสมัครพิทักษ์ทะเล MARINE RANGER
     (1) เพื่อเสริมสร้างศักยภาพ ความเข้มแข็ง กระบวนการเรียนรู้และพึ่งตนเองของชุมชนในการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่งอย่างยั่งยืนในท้องถิ่นของตนเอง
     
(2) เพื่อประสานการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งระหว่างระดับนโยบาย และระดับชุมชน
     (3) เพื่อสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในท้องถิ่นของตนเอง

3. หน้าที่ของอาสาสมัครพิทักษ์ทะเล มีดังนี้
     (1) ให้ความร่วมมือและช่วยเหลือการปฏิบัติงานราชการกับพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายตามที่ได้ร้องขอ ทั้งนี้ในการปฏิบัติงานแต่ละครั้งอาสาสมัครต้องอยู่ในความควบคุม กำกับ ดูแลของ
พนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ หรือมีอำนาจในการจับกุมผู้กระทำความผิดตามกฎหมายอย่างใกล้ชิด
     (2) ช่วยเหลือและสนับสนุนการดำเนินงานตามแผนงาน โครงการหรือกิจกรรม เกี่ยวกับการอนุรักษ์ สงวน คุ้มครอง และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในท้องถิ่น
     (3) สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมและสร้างความตระหนักให้ภาคประชาชนรู้สภาพปัญหาด้านทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ของท้องถิ่นและสามารถกำหนดแผนงานเพื่อแก้ไขปัญหาเองได้ รวมถึงการกระตุ้นให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในพื้นที่ หรือชุมชนของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
     (4) ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งของชุมชน
​     (5) ทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์ รับและแจ้งให้ประชาชนได้ทราบถึงนโยบาย ข่าวสาร กิจกรรม ตลอดจนผลงานที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
​     (6) สดับรับฟังข่าว หรือหาข่าวการดำเนินกิจกรรมที่ผิดกฎหมายที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง หรือเป็นภัยร้ายแรงต่อส่วนรวม หรือประเทศชาติ
​     (7) ติดตาม ตรวจสอบ เฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงคุณภาพทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งของชุมชน

4. สิทธิสำหรับผู้เป็นอาสาสมัครพิทักษ์ทะเล
​     (1) แต่งเครื่องแต่งกาย และประดับเครื่องหมายอาสาสมัครพิทักษ์ทะเล (เครื่องหมายเชิดชูเกียรติมี 2 ระดับ ประกอบด้วย “รักษ์ทะเล ชั้น 2 (เข็มเงิน)” และเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ “รักษ์ทะเล ชั้น 1 (เข็มทอง)” ตามหลักเกณฑ์ที่กรมฯ กำหนด)
​     (2) ได้รับบัตรประจำตัวอาสาสมัครพิทักษ์ทะเล
​     (3) เข้าร่วมประชุม สัมมนา โครงการ หรือกิจกรรม ตามที่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งกำหนด
​     (4) มีสิทธิในการคัดเลือกตัวแทนกลุ่มอาสาสมัครพิทักษ์ทะเล
​     (5) มีสิทธิได้รับการคัดเลือกให้เป็นตัวแทนกลุ่มอาสาสมัครพิทักษ์ทะเล เพื่อทำหน้าที่แทนกลุ่มอาสาสมัครพิทักษ์ทะเล
​     (6) อาสาสมัครพิทักษ์ทะเลที่ปฏิบัติงานได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด มีสิทธิได้รับใบประกาศเกียรติคุณ เข็ม และอื่นๆ เพื่อยกย่องในฐานะเป็นตัวอย่างที่ดีของสังคมด้านอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง
​     (7) นำเสนอข้อมูล และเสนอแนะข้อคิดเห็นต่อการปรับปรุงการดำเนินงาน หรือพิจารณาสถานภาพของคณะกรรมการเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทะเล
​     (8) ได้รับการสนับสนุนในการเข้าชมสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ จังหวัดภูเก็ต อุทยานแห่งชาติ และสถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ ในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
​     (9) สิทธิอื่นตามที่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งกำหนด

5. สัญลักษณ์อาสาสมัครพิทักษ์ทะเล
     (1) ผู้มีสิทธิได้รับอนุญาตให้ใช้สัญลักษณ์อาสาสมัครพิทักษ์ทะเล ต้องเป็นอาสาสมัครพิทักษ์ทะเล คุณสมบัติให้เป็นไปตามที่กําหนดไว้ในข้อ 4
     (2) การใช้สัญลักษณ์อาสาสมัครพิทักษ์ทะเลจะอนุญาตให้เฉพาะผู้ได้รับอนุญาตเท่านั้น ผู้ได้รับอนุญาตไม่สามารถโอนสิทธิให้บุคคลอื่นได


สัญลักษณ์อาสาสมัครพิทักษ์ทะเล

DOCUMENT

ระเบียบกรม ทช. ว่าด้วยอาสาสมัครพิทักษ์ทะเล พ.ศ. 2560

(0.28 Mb) .PDF