นายอภิชัย เอกวนากุล รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รักษาราชการแทนอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เข้าพบนายนริศ ขำนุรักษ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เพื่อหารือแนวทางการแก้ไขปัญหาการออกเอกสารสิทธิในพื้นที่ป่าชายเลน โดยมีนายดำรง มูลสาร ผู้อำนวยการกองกฎหมาย นายวัธน์ทัย ชูชื่น ผู้อำนวยการส่วนพิสูจน์และจัดการสิทธิที่ดินป่าชายเลน และนายปานศักดิ์ ซินพรมราช ผู้อำนวยการส่วนสื่อสารองค์กร เข้าร่วมหารือ ณ กระทรวงมหาดไทย เขตพระนคร กรุงเทพฯ
ที่ประชุมได้แจ้งเพื่อทราบถึงผลการประชุมคณะทำงานร่วมระหว่างรัฐบาลไทยและคณะกรรมาธิการยุโรป (DG - MARE) ในการต่อต้านการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม ครั้งที่ 6 พร้อมทั้งรายงานความก้าวหน้าการจัดทำนโยบายและแผนบริหารจัดการประมง และแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายในทะเลสาบสงขลา ของปี พ.ศ. 2566 - 2570 อีกทั้งรายงานความก้าวหน้าโครงการนำเรือประมงออกนอกระบบเพื่อการจัดการทรัพยากรประมงทะเลที่ยั่งยืน
ในการนี้ รองอธิบดี ทช. มอบนโยบายการทำงานร่วมกันระหว่างกรม ทช. เครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทะเล และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเน้นย้ำให้รับฟังข้อคิดเห็นจากประชาชนและนำมาใช้ในการพัฒนาการทำงานด้านเครือข่าย อันจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาในทุกพื้นที่ได้อย่างทันท่วงที อีกทั้งยกระดับการทำงานร่วมกับประชาชน มุ่งสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อให้พี่น้องเครือข่ายในแต่ละพื้นที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมได้ดียิ่งขึ้น จากนั้น ได้ให้เกียรติมอบเครื่องหมายเชิดชูเกียรติยศยิ่ง “รักษ์ทะเลยิ่งชีพ” แก่เครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทะเล ซึ่งเป็นผู้ประกอบคุณงามความดีต่อสังคม
นายอภิชัย เอกวนากุล รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พร้อมด้วยนายปรีชา วนชุติกุล ผู้ตรวจราชการกรม เขต 3 นายไพโรจน์ นาครักษา ผู้ตรวจราชการกรม เขต 4 ลงพื้นที่ตรวจติดตามผลการดำเนินงานตามแผนงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 4 และลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าคดีการตรวจยึดจับกุมพื้นที่บุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้ ในบริเวณป่าชายเลน หมู่ 6 ตำบลคลองฉนาก อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งมีเนื้อที่ จำนวน 117.20 ไร่ โดยมีนายธีรพันธ์ พวงสุนทร ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน นายประจวบ โมฆรัตน์ ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล นายอุทัย เดชยศดี ผู้อำนวยการศูนย์บริหารจัดการทรัพยากรป่าชายเลนจังหวัดสุราษฎร์ธานี นายสุมานพ แจ้งใจ ผู้อำนวยการศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลนที่ 4 (ท่าฉาง สุราษฎร์ธานี)
การประชุมในครั้งนี้ ได้มีการหารือถึงแนวทางการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการขยะทะเล ระบบฐานข้อมูลและแบบจำลองเพื่อการวิจัยทางสมุทรศาสตร์สำหรับประเทศไทย การพัฒนาระบบตรวจวัดทางทะเล ตลอดจนการดำเนินงานด้านการศึกษา อนุรักษ์และฟื้นฟูสัตว์ทะเลหายาก อีกทั้งแบบอย่างการจัดการชุมชนและอนุรักษ์ป่าชายเลนในพื้นที่บริเวณชายฝั่ง และการเชื่อมโยงข้อมูลจากคลังข้อมูลน้ำแห่งชาติเพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากการประชุมแล้วเสร็จ กรม ทช. จะนำประเด็นการประชุมในครั้งนี้ กลับไปหารือกับหน่วยงานภายใน เพื่อหาแนวทางและเตรียมความพร้อมในการทำงานร่วมกัน
นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (อทช.) พร้อมด้วยนายรัชชัย พรพา ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านป้องกันและปราบปราม และนายไพรัตน์ สุทธิพล ผู้อำนวยการกองป้องกันและปราบปราม ลงพื้นที่จังหวัดสตูลเพื่อร่วมประชุมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกรณีข้อพิพาทในที่ดินที่เกี่ยวข้องกับชุมชนชาวเล เกาะหลีเป๊ะ จ.สตูล โดยมีพล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติในฐานะประธานคณะกรรมการแก้ไขปัญหาข้อเท็จจริงกรณีปัญหาข้อพิพาทในที่ดินที่เกี่ยวข้องกับชุมชนชาวเล เกาะหลีเป๊ะ จังหวัดสตูล นำคณะกรรมการชุดดังกล่าว โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมสอบสวนคดีพิเศษ กรมที่ดิน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
โดยที่ประชุมได้สรุปรายงานผลการดำเนินงานการอนุรักษ์ทะเลเพื่อชีวิต (Ocean for Life) จำนวน 6 หมวดงาน 7 คณะทำงาน ประกอบด้วย การบริหารจัดการขยะทะเล เพื่อลดผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง การปลูกป่าชายเลนเพื่อเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำชายฝั่ง การพัฒนาศูนย์เพาะพันธุ์สัตว์น้ำเศรษฐกิจและการอนุรักษ์สัตว์ทะเลหายาก เป็นการขยายศูนย์การเรียนรู้เพาะฟักสัตว์น้ำเศรษฐกิจ และการอนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเลและสัตว์ทะเลหายาก การจัดทำแนวเขตอนุรักษ์ชายฝั่งทะเลและบ้านปลา
ในการนี้ ฝ่ายเลขานุการ ชี้แจงในวาระเรื่องเพื่อทราบประเด็นเกี่ยวกับผลการดำเนินงานตามแผนอนุรักษ์พะยูนแห่งชาติ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2563 - 2565) ที่มีเป้าหมายตัวชี้วัดของแผน คือการเพิ่มจำนวนประชากรพะยูนจาก 250 ตัว เป็น 280 ตัว ในเวลา 3 ปี รวมถึงรายงานสถานภาพพะยูนและแหล่งหญ้าทะเล ปี พ.ศ. 2563 - 2565 และข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของคณะทำงานติดตามการดำเนินงานภายใต้แผนอนุรักษ์พะยูนแห่งชาติและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาในประเด็นการดำเนินการจัดทำแผนอนุรักษ์พะยูนแห่งชาติ
นำโดยพลเอกสุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ ประธานคณะกรรมาธิการ พลเอกมารุต ปัชโชตะสิงห์ รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่สอง นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่สี่ นายอำพล จินดาวัฒนะ ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการพร้อมคณะ ลงพื้นที่ประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชน ในประเด็นแนวทางการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การลดหย่อนภาษีที่ดินป่าชายเลนกรรมสิทธิ์ โดยมีนายศิริศักดิ์ ศิริมังคะลา รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้แทนภาคประชาชน เข้าร่วมประชุม ในโอกาสนี้ อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
ดร.พรศรี สุทธนารักษ์ รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พร้อมด้วยผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ในสังกัดกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เข้าร่วมประชุมรับฟังรายงานความก้าวหน้าโครงการวิจัยขยะพลาสติกในแม่น้ำ และการดักเก็บขยะพลาสติกในแม่น้ำเจ้าพระยา ร่วมกับผู้แทนจากองค์กร The Ocean Cleanup แห่งราชอาณาจักรเนเธอแลนด์ นำโดย Mr. Cyril Girardeaux Project Manager Sr. และ Ms. Charlotte de Jong Business Development Manager Jr. นายอัคควัทธ์ พุทธิบุญสวัสดิ์ วิศวกรอาวุโส
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ร่วมกับสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) จัดพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือว่าด้วยการช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินทางทะเล เพื่อคุ้มครองสิทธิในการเข้าถึงระบบการแพทย์ฉุกเฉินอย่างทั่วถึง เท่าเทียม และมีคุณภาพมาตรฐาน โดยมีนายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พร้อมด้วยเรืออากาศเอก นายแพทย์ อัจฉริยะ แพงมา เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เป็นประธานร่วมในพิธีลงนามฯ โอกาสนี้นายอภิชัย เอกวนากุล รองอธิบดี ทช. ดร.พรศรี สุทธนารักษ์ รองอธิบดี ทช. ตลอดจนคณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่จากทั้งสองหน่วยงาน เข้าร่วมเป็นสักขีพยาน
การประชุมดังกล่าวฯ ที่ประชุมแจ้งเรื่องเพื่อทราบถึงสถานการณ์ โลมาอิรวดีทะเลสาบสงขลาและสถานการณ์การวางไข่เต่ามะเฟือง พร้อมทั้งสรุปผลการดำเนินงานด้านสัตว์ทะเลมีพิษ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 การระบาดของโรคปะการังแถบสีเหลือง (Yellow band disease) บริเวณจังหวัดชลบุรี การประเมินค่าใช้จ่ายการรื้อถอนแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียม ระหว่าง RTR กับการจัดการบนฝั่ง โดยที่ประชุมยังได้พิจารณาข้อเสนอแนะ การดำเนินการด้านสัตว์ทะเลมีพิษ และการ (ร่าง) คู่มือการประเมินศักยภาพ
ที่ประชุมได้รายงานความคืบหน้าของแต่ละประเด็นให้ทราบ ได้แก่ เรื่องความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาข้อเรียกร้องเกี่ยวกับโครงการกำแพงป้องกันคลื่นริมชายหาดกลับเข้าไปจัดทำ EIA และผลการกลั่นกรองโครงการด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งประจำ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 พร้อมทั้ง การกำหนดเงื่อนไขและหลักเกณฑ์การปลูกป่าทดแทน ว่าด้วยการปลูกและบำรุงป่าชายเลนทดแทนเพื่อการอนุรักษ์หรือรักษาสภาพแวดล้อม ตามมติคณะรัฐมนตรี และผลการพิจารณาตัวชี้วัดและเกณฑ์การให้คะแนนของหน่วยงาน เพื่อใช้ในการเลื่อนเงินเดือน
ที่ประชุมร่วมกันพิจารณาถึงแนวทางการดำเนินงานของประเทศไทยเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนทศวรรษแห่งสหประชาชาติว่าด้วยวิทยาศาสตร์ทางมหาสมุทรเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ปี ค.ศ. 2021 – 2030 ตลอดจนการปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคำสั่งอนุกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินงานทศวรรษแห่งสหประชาชาติว่าด้วยวิทยาศาสตร์ทางมหาสมุทรเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ปี ค.ศ. 2021 – 2030 และการเป็นเจ้าภาพจัดประชุมวิชาการนานาชาติ The 2nd UN Ocean Decade Regional Conference And 11th WESTPAC International Marine Science Conference ร่วมกับ IOC WESTPAC นอกจากนี้ ได้หารือถึงประเด็นอื่นๆ ได้แก่ คณะทำงานเพื่อการจัดทำรายงานประจำปีของ National Decade Committee (NDC) และคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนการจัดประชุมวิชาการนานาชาติ The 2nd UN Ocean Decade Regional Conference And 11th WESTPAC International Marine Science Conference ร่วมกับ สำนักงาน IOC WESTPAC ทั้งนี้ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบตามวาระต่างๆ
ที่ประชุมมีการพิจารณาและเห็นชอบในประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ได้แก่ การติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน ผลการดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน 1 : 4000 (One Map) ในพื้นที่กลุ่มที่ 3 จำนวน 11 จังหวัด และแนวทางการแก้ไขปัญหากรณีพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลาน