MARINE RANGERS
จำนวนรายจังหวัด
อาสาสมัครพิทักษ์ทะเล
อาสาสมัครพิทักษ์ทะเล
อาสาสมัครพิทักษ์ทะเล
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
พิธีถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา (12 สิงหาคม 2565) พร้อมกันนี้ นายอภิชัย เอกวนากุล รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ดร.พรศรี สุทธนารักษ์ รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เข้าร่วมในพิธีดังกล่าว ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 อาคารกระทรวงทรัพยากรธรรมและสิ่งแวดล้อม
เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565 “90 พรรษา พระมารดาแห่งการคุ้มครองความหลากหลาย ทางชีวภาพ” โอกาสนี้นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมว.ทส.) พร้อมด้วยนายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวง ทส. นายโสภณ ทองดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (อทช.) นายอภิชัย เอกวนากุล รองอธิบดีกรม ทช. ตลอดจนคณะผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ในสังกัด ทส. และผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนในพื้นที่ เข้าร่วมในพิธีดังกล่าว ณ กลุ่มอาคารเรือนกระจกเฉลิมพระเกียรติ สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
ที่ประชุม ได้พิจาณา รายงานความก้าวหน้าการวิจัยและนวัตกรรมและแผนงานวิจัยด้านเศรษฐกิจสีน้ำเงิน (เบื้องต้น) ประจำปีงบประมาณ 2565 จำนวน 7 โครงการ โดยมีโครงการที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง อาทิ โครงการศึกษาปริมาณคาร์บอนที่ได้จากการปลูกหญ้าทะเล และหญ้าทะเลตามธรรมชาติ การศึกษาปริมาณคาร์บอนสะสม เก็บกักในแหล่งหญ้าทะเล การศึกษาศักยภาพการกักเก็บคาร์บอนของป่าชายเลนตามธรรมชาติและป่าปลูก การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการฟื้นฟูและการรักษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของประชากรปะการัง เป็นต้น ทั้งนี้ ประธานฯ ขอให้ กรม ทช หารือเพื่อทำความชัดเจนในเรื่องวิธีการวิจัยการวัดปริมาณคาร์บอนในระบบนิเวศน์หญ้าทะเลและป่าชายเลนให้ชัดเจนเพื่อประโยชน์ในการนำไปใช้คำนวนคาร์บอนเครดิตให้เป็นมาตรฐานของประเทศไทย
วันที่ 9 สิงหาคม 2565 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ร่วมกับ The Ocean Cleanup Projects B.V. แห่งราชอาณาจักรเนเธอแลนด์ ร่วมประชุมหารือการดำเนินการการวิจัยขยะพลาสติกในแม่น้ำ และการดักเก็บขยะพลาสติกในแม่น้ำเจ้าพระยา รวมถึงการรายงานความก้าวหน้าของโครงการ โดยมี ดร.พรศรี สุทธนารักษ์ รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เป็นประธาน โอกาสนี้ Mr. Cyril Girardeaux Project Manager Sr. ในฐานะผู้จัดการโครงการคนใหม่ และ Ms. Charlotte de Jong Business Development Manager Jr นายอัคควัทธ์ พุทธิบุญสวัสดิ์ วิศวกรอาวุโส และคณะ พร้อมด้วยนางสุมนา ขจรวัฒนากุล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมหารือ ณ ห้องประชุมพะยูน
ที่ประชุมได้ร่วมหารือรับฟังความคิดเห็นข้อเสนอแนะ พร้อมได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับภารกิจการขับเคลื่อนงานด้านการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ระหว่างเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทะเล คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และเจ้าหน้าที่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งให้มีประสิทธิภาพเป็นไปในทิศทางเดียวกัน จากนั้น อธิบดี ทช. และคณะได้ลงพื้นที่เพื่อติดตามสถานการณ์การกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่ชายฝั่งบริเวณบ้านเสาเภา
วันที่ 8 สิงหาคม 2565 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ร่วมกับ เอสซีจี โดยบริษัทผลิตภัณฑ์และวัตถุก่อสร้าง จำกัด คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมูลนิธิ Earth Agenda พร้อมภาคีสนับสนุน กองทัพเรือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เปิดตัวโครงการ “รักษ์ทะเล” รวมพลังฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลด้วยบ้านปะการัง โดยมีดร. พรศรี สุทธนารักษ์ รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พร้อมด้วยนายชนะ ภูมี Vice President – Cement and Green Solution Business ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจี ศ.สพ.ญ.ดร.เกวลี ฉัตรดรงค์ รองอธิการบดี ด้านการวางและกำหนดยุทธศาสตร์ นวัตกรรม และพันธกิจสากลจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศ.สพ.ญ.ดร.นันทริกา ชันซื่อ ประธานมูลนิธิ Earth Agenda ตลอดจนผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานภาคีสนับสนุน เข้าร่วมกิจกรรม ณ sea life bangkok ocean world
ภายในปี ค.ศ. 2050 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี ค.ศ. 2065 หรือการทำให้อุณหภูมิโลกลดลง 1.5 องศาเซลเซียส กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความตั้งใจอย่างยิ่งที่จะผลักดันนโยบายต่าง ๆ เพื่อบรรลุเป้าหมาย ตามกรอบอนุสัญญาฯ ที่ไทยได้ประกาศไว้ในการประชุม COP26 ณ เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร โดยแผนนโยบายของกระทรวงฯ เป็นแผนงานที่ส่งต่อให้หน่วยงานทั่วประเทศ นำไปลงมือปฏิบัติได้จริง ซึ่งหลาย ๆ นโยบายของเรา ลงมือทำจนสำเร็จแล้ว
การขับเคลื่อนการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และผลักดันไทยมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี พ.ศ.2593 เพื่อบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ให้ได้ภายในปี พ.ศ. 2608 พร้อมทั้งกล่าวชื่นชมกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ได้จัดการประชุม TCAC ขึ้นเป็นครั้งแรกของประเทศ ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการเสริมสร้างพลังระหว่างภาคีเครือข่ายทั้งประเทศในการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อการเติบโตที่ยั่งยืนและสมดุลของไทยและของโลกโดยเน้นการมีส่วนร่วมจากหลากหลายภาคส่วน โดยเฉพาะภาคท้องถิ่น
การประชุมดังกล่าว พล.อ.ประวิตร ได้เร่งรัดการดำเนินงานด้านทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พร้อมมีวาระสำคัญที่ต้องดำเนินการหลายเรื่อง โดยเฉพาะการกำหนดพื้นที่ป่าชายเลนอนุรักษ์ในจังหวัดตรัง และพังงา ที่ต้องเร่งรัดเสนอประกาศกฎกระทรวงต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อโปรดพิจารณา ต่อไป รวมถึงการจัดทำแผนที่ข้อมูลวิชาการของระบบกลุ่มหาดประเทศไทย เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งของประเทศไทยอย่างยั่งยืน พร้อมเน้นย้ำกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เร่งรัดบูรณาการดำเนินงานร่วมกันให้เป็นระบบ และสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างยั่งยืน